“ความถูกต้องของข้อมูล” สู่มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ

“ความถูกต้องของข้อมูล” สู่มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ

“ความถูกต้องของข้อมูล” เป็นสิ่งสำคัญในการผลิตผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ ประกอบไปด้วย

นิยาม ได้แก่ ข้อมูล การสร้างข้อมูลเท็จ การปลอมแปลงหรือบิดเบือนข้อมูล

หลักการและเหตุผล ผู้อ่านย่อมมีสมมติฐานว่าผู้วิจัยจะรายงานผลตามความเป็นจริง นั่นคือปราศจากการรายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง การที่ผู้อ่านนำผลงานวิจัยที่ไม่ได้อยู่บนรากฐานของข้อมูลที่ถูกต้องไปใช้ต่อ อาจนำไปสู่การสูญเสียความน่าเชื่อถือของผู้วิจัย

แนวทางการปฏิบัติ 

  1. การเก็บข้อมูล ผู้วิจัยต้องมั่นใจว่า กระบวนการเก็บข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และถูกต้องเหมาะสมตามมาตรฐานและ จริยธรรมในแต่ละสาขา ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ตั้งแต่การออกแบบการทดลอง มาตรฐานของสารเคมีและกระบวนการความสามารถในการทำซ้ำได้ ขีดจำกัดต่างๆ
  2. หัวหน้าหรือผู้ประสานงานโครงการวิจัยต้องให้ความรู้เกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูลแก่ผู้วิจัย โดยทำตนให้เป็นแบบอย่างและไม่เพิกเฉยต่อการปฏิบัติที่ส่งผล กระทบต่อความถูกต้องหรือความน่าเชื่อถือของข้อมูล
  3. กรณีที่การวิจัยทำในห้องทดลอง ผู้วิจัยต้องเก็บหลักฐานการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น สมุดบันทึกผลการทดลองที่มีเลขหน้า บันทึกด้วยปากกา มีการลงวันที่และมีการลงนามรับรองพร้อมพยาน ไฟล์รูปภาพหรือข้อมูลต่างที่ได้จากเครื่องมือในรูปแบบที่ไม่ได้ผ่านการประมวลผลใดๆ หลักฐานต่างๆควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัย
  4. การตกแต่งรูปภาพเพื่อการนำเสนอในการผลงานวิจัยอาจทำได้ในขอบเขตที่เหมาะสม แต่ในทุกกรณีพึงมีการสำรองไฟล์รูปภาพต้นฉบับไว้ด้วย
  5. ข้อมูลวิจัยทุกชนิดและเอกสารที่เกี่ยวข้องควรเก็บไว้อย่างปลอดภัย ไม่ควรทำลายทิ้งถึงแม้ว่างานนั้นจะเสร็จและได้รับการตีพิมพ์ไปแล้วก็ตาม สามารถตรวจสอบได้เมื่อต้องการ ถ้าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ให้ทำข้อมูลสำรองเอาไว้ด้วย
  6. ถ้าพบเห็นพฤติกรรมที่สงสัยผู้ร่วมวิจัยอาจมีการสร้างข้อมูลหรือปลอมแปลงข้อมูล ไม่ควรเก็บไว้แต่เพียงผู้เดียว ควรแจ้งผู้บังคับบัญชาในลำดับชั้นต่อไป