ประชาสัมพันธ์ผลงานทางวิชาการในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ด้วยสำนักวิจัยและบริการวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้จัดทำผลงานวิชาการ ประกอบด้วย ผลงานวิจัย วารสารวิชาการ ป.ป.ช. และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และภารกิจงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ในการป้องกันและปราบปรามทุจริตที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผู้สนใจสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nsc.go.th
เทคนิคในการเลือกสำนักพิมพ์เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในระดับนานาชาติ
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 สำนักส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา มหัทธนทวี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “เทคนิคในการเลือกสำนักพิมพ์เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในระดับนานาชาติ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการเลือกวารสารที่จะขอรับการตีพิมพ์ให้กับคณาจารย์และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อให้มั่นใจและสามารถตรวจสอบได้ว่า บทความวิจัยที่ไปตีพิมพ์นั้นเป็นวารสารที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ การบรรยายในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก Ms. Mandy Sum มีตำแหน่ง Market & Business Development Manager ของสำนักพิมพ์ ASEAN & Oceania, ACS Publication มาให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการและเทคนิคในการเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ รวมถึงข้อสังเกตต่างๆ ในการพิจารณาสำนักพิมพ์และวารสาร เพื่อป้องกันไม่ให้ไปสู่การทำผิดจริยธรรมทางวิชาการ และในช่วงท้ายของการบรรยาย ได้รับเกียรติจาก ดร.วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์ มาเล่าถึงประสบการณ์ในการตรวจพบเจอวารสารและสำนักพิมพ์ที่เข้าข่ายผิดจริยธรรมการวิจัยในเชิงวิชาการ อาทิ สำนักพิมพ์มีการสร้างเว็บไซต์ปลอมขึ้นมาให้เหมือนกับสำนักพิมพ์ต้นฉบับ ทำให้นักวิจัยหลงเชื่อว่าเป็นสำนักพิมพ์นั้น มีคุณภาพได้รับการรับรองในระดับนานาชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนในการตรวจสอบวารสารและข้อสังเกตต่างๆ ซึ่งสำนักส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเทคนิคในการเลือกสำนักพิมพ์ ประสบการณ์ และข้อสังเกตต่างๆเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักวิจัยที่กำลังนำบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ ที่สามารถยกระดับงานวิจัยให้มีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมทางวิชาการต่อไป
ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The Tenth International Conference on Advancement of Development Administration 2021—Social Sciences and Interdisciplinary Studies (the 10th ICADA 2021—SSIS) (the 10th ICADA 2021—SSIS)
ด้วย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จะจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The Tenth International Conference on Advancement of Development Administration 2021—Social Sciences and Interdisciplinary Studies (the 10th ICADA 2021—SSIS) (the 10th ICADA 2021—SSIS) ในหัวข้อ “Stronger Emergence Through Disruption: Challenge and Opportunity” ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 22 – วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม 2564 เวลา 9.00-17.30 น. ผ่านระบบออนไลน์ (ZOOM Program) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานด้านพัฒนบริหารศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสหสาขาวิชาในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ งานประชุมครั้งนี้ยังถือเป็นโอกาสอันดีที่นักวิชาการจากสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศจะได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการที่มีคุณค่าต่อไปในอนาคต จึงขอเรียนเชิญผู้สนใจร่วมส่งผลงานบทคัดย่อ/ บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ […]
ประชาสัมพันธ์การจัดงานวิชาการ สวทช. ประจำปี 2564
ด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้กำหนดจัดงานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2564 (NSTDA Annual Conference: NAC2021) ภายใต้หัวข้อ “30 ปี สวทช. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (STI Driving BCG Economy for Sustainability) ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 25-30 มีนาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมถึงการนำเสนอผลงานวิจัยพัฒนาที่ สวทช. สนับสนุนและดำเนินการผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมภายในงานประชุม ตามวันและเวลาดังกล่าว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ขอเชิญร่วมส่งบทความและงานวิจัยในการประชุมวิชาการครั้งที่ 16 ประจำปี 2564
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) กำหนดจัดการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2564 ในระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม 2564 โดยเป็นการจัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้คณาจารย์ตระหนักในบทบาทและหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ และเป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนนวัตกรรมใหม่ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปด้านการศึกษา ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียด ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม สมัครเข้าร่วมการประชุม รวมทั้งส่งบทความและงานวิจัยได้ที่ http://thailandpod.org/training/2021/conf16/article.html ลงทะเบียนและส่ง Abstract ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตั้งแต่บัดนี้ – 30 ธันวาคม 2563 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2039-5527 (วันและเวลาราชการ) หรือ 08-2937-5337 Email: thailandpod@gmail.com
สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช) เปิดรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 ผู้สนใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลดเอกสารได้ ดังนี้ Download เอกสารประกาศ
วช.เปิดรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นสำคัญของประเทศ เรื่อง PM2.5
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นสำคัญของประเทศ เพื่อตอบเป้าหมายตามแพลตฟอร์มที่ 2 “การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม โปรแกรมที่ 7 โจทย์ท้าทายด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการเกษตร แผนงานสำคัญ (Flagship Project) กลุ่มเรื่อง PM2.5” เพื่อจัดการกับปัญหาท้าทายเร่งด่วนสำคัญของประเทศในเรื่องคุณภาพอากาศและฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่มีมูลเหตุจากกิจกรรมของมนุษย์และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ สุขภาพของประชาชน เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศโดยรวม เพื่อมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ คือ จำนวนวันที่มีปริมาณ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานลดลง ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1gjqaiqswewURbL50BNUURAXQ7yD5BAiD/view โทร 02-579-1370-9 ต่อ 308-310
ประกาศรับทุนอุดหนุนการจัดทำวารสารวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ประจำปี 2563
ด้วย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีนโยบายในการพัฒนาวารสารวิชาการ ให้เป็นมาตรฐานสากลในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-journal) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักวิจัยและนักวิชาการให้กว้างไกลในระดับนานาชาติ นโยบายดังกล่าวได้ดำเนินการโดยใช้รูปแบบความร่วมมือจัดทำวารสารเพื่อจัดพิมพ์ NRCT Official e-journal ด้านสังคมศาสตร์ โดยการให้ทุนสนับสนุนการจัดทำวารสารวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์กับหน่วงานที่มีความพร้อมทางด้านวิชาการในการจัดทำวารสารที่มีมาตรฐานสากล จากผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์ดังกล่าว ในงบประมาณ 2563 วช. จึงได้จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการจัดทำ NRCT Official e-journal โดยสนับสนุนงบประมาณทุนอุดหนนุฯ จำนวน 4 ทุน ทุนละ 200,000 บาท ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดดังนี้ https://drive.google.com/file/d/1qLtj3azx6gaVnbrKkFTHl0sCOeIIemTl/view?usp=sharing
“ความถูกต้องของข้อมูล” สู่มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ
“ความถูกต้องของข้อมูล” เป็นสิ่งสำคัญในการผลิตผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ ประกอบไปด้วย นิยาม ได้แก่ ข้อมูล การสร้างข้อมูลเท็จ การปลอมแปลงหรือบิดเบือนข้อมูล หลักการและเหตุผล ผู้อ่านย่อมมีสมมติฐานว่าผู้วิจัยจะรายงานผลตามความเป็นจริง นั่นคือปราศจากการรายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง การที่ผู้อ่านนำผลงานวิจัยที่ไม่ได้อยู่บนรากฐานของข้อมูลที่ถูกต้องไปใช้ต่อ อาจนำไปสู่การสูญเสียความน่าเชื่อถือของผู้วิจัย แนวทางการปฏิบัติ การเก็บข้อมูล ผู้วิจัยต้องมั่นใจว่า กระบวนการเก็บข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และถูกต้องเหมาะสมตามมาตรฐานและ จริยธรรมในแต่ละสาขา ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ตั้งแต่การออกแบบการทดลอง มาตรฐานของสารเคมีและกระบวนการความสามารถในการทำซ้ำได้ ขีดจำกัดต่างๆ หัวหน้าหรือผู้ประสานงานโครงการวิจัยต้องให้ความรู้เกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูลแก่ผู้วิจัย โดยทำตนให้เป็นแบบอย่างและไม่เพิกเฉยต่อการปฏิบัติที่ส่งผล กระทบต่อความถูกต้องหรือความน่าเชื่อถือของข้อมูล กรณีที่การวิจัยทำในห้องทดลอง ผู้วิจัยต้องเก็บหลักฐานการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น สมุดบันทึกผลการทดลองที่มีเลขหน้า บันทึกด้วยปากกา มีการลงวันที่และมีการลงนามรับรองพร้อมพยาน ไฟล์รูปภาพหรือข้อมูลต่างที่ได้จากเครื่องมือในรูปแบบที่ไม่ได้ผ่านการประมวลผลใดๆ หลักฐานต่างๆควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัย การตกแต่งรูปภาพเพื่อการนำเสนอในการผลงานวิจัยอาจทำได้ในขอบเขตที่เหมาะสม แต่ในทุกกรณีพึงมีการสำรองไฟล์รูปภาพต้นฉบับไว้ด้วย ข้อมูลวิจัยทุกชนิดและเอกสารที่เกี่ยวข้องควรเก็บไว้อย่างปลอดภัย ไม่ควรทำลายทิ้งถึงแม้ว่างานนั้นจะเสร็จและได้รับการตีพิมพ์ไปแล้วก็ตาม สามารถตรวจสอบได้เมื่อต้องการ ถ้าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ให้ทำข้อมูลสำรองเอาไว้ด้วย ถ้าพบเห็นพฤติกรรมที่สงสัยผู้ร่วมวิจัยอาจมีการสร้างข้อมูลหรือปลอมแปลงข้อมูล ไม่ควรเก็บไว้แต่เพียงผู้เดียว ควรแจ้งผู้บังคับบัญชาในลำดับชั้นต่อไป
Research Ethics
แนวทางในการประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป โดยมีลักษณะเป็นข้อพึงสังวรมากกว่าจะเป็นข้อบังคับ อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างจรรยาบรรณในหมู่นักวิจัยต่อไป