ขอเชิญชวนส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา JMS : NRRU
วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา JMS : NRRU🎯ก้าวสู่ปีที่ 4 (ตีพิมพ์มาแล้ว 3 ปี 6 ฉบับ)📍กำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ📍✅ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Review) จากหลากหลายสถาบัน 3 ท่าน✅สามารถใช้ยื่นขอผลงานตำแหน่งทางวิชาการได้✅สามารถใช้เป็นผลงานคุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ ตามหลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน AUN-QA ระดับหลักสูตร📍อ้างอิงประกาศ ก.พ.อ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 สาขาที่พิจารณารับตีพิมพ์📍สาขาบริหารธุรกิจ การจัดการ และบัญชี📍สาขาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม📍สาขาการท่องเที่ยว นันทนาการ และการจัดการโรงแรม📍สาขาเศรษฐศาสตร์ เศรษฐมิติ และการเงิน📍สาขาการสื่อสาร🎯วารสาร JMS : NRRU อยู่ระหว่างพิจารณาการประเมินคุณภาพวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI พ.ศ. 2568 ✅ส่งบทความได้ที่ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru
ขอเชิญชวนเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 และนานาชาติ ครั้งที่ 1
ด้วย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีม ได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศ จัดงานประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 8 และระดับนานาชาติครั้งที่ 1 “นวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน: การบูรณาการสหวิทยาการเพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลก” (The 8th National and 1st International Academic Research Conference ““Innovating for a Sustainable Future: Multidisciplinary Solutions for Global Challenges”) ในวันที่ 5 สิงหาคม 2568 ณ อาคาร 22 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิชาการสำหรับนักวิจัย คณาจารย์ และนักศึกษาจากหลากหลายสาขาวิชาทั่วประเทศและต่างประเทศ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอย่างยั่งยืนในหลากหลายบริบท ตั้งแต่เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การสื่อสาร และเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศตามแนวทางความยั่งยืน ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://fms.nrru.ac.th/2019/index.php/isf-2025
พิธีมอบเงินรางวัลและใบประกาศนียบัตร “การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ตะลิงปลิง”
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2568 คณะทำงาน อพ.สธ-มหาวิทยาลัยสยาม ได้จัดกิจกรรมพิธีมอบเงินรางวัลและใบประกาศนียบัตร “การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ตะลิงปลิง” ให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมออกแบบตราสัญลักษณ์ฯ โดยในงานนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเรือตรีหญิง สุภัทรา เอื้อวงศ์ มาเป็นประธานในพิธีและเป็นผู้มอบเงินรางวัลและใบประกาศนียบัตรให้กับนักศึกษาที่ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดทั้งหมด 27 ทีม จากคณะวิชาต่างๆ 6 คณะ ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะนิติศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ โดยวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม “การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ตะลิงปลิง” นั้น สืบเนื่องมาจากการดำเนินงานภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชตะลิงปลิงอย่างยั่งยืน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ กิจกรรมการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ตะลิงปลิง จึงกลายเป็นที่มาของตอบโจทย์วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 สำหรับกิจกรรมภายในงานนี้ ได้รับเกียรติจากณะผู้บริหาร คณาจารย์ ทีมคณะทำงาน อพ.สธ-ม.สยาม และนักศึกษา มาร่วมแสดงความยินดีและรับชมผลงานตราสัญลักษณ์จากผลิตภัณฑ์ตะลิงปลิง ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการ พร้อมนี้ ได้ให้ทีมที่ชนะการประกวดรางวัล ได้ออกมานำเสนอแนวคิดในการออกแบบ ซึ่งแต่ละทีมสามารถผลิตตราสัญลักษณ์ออกมาด้วยความคิดสร้างสรรค์เชิงศิลปะ จนทำให้ได้ตราสัญลักษณ์ที่สวยงามพร้อมนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ของตะลิงปลิง เพื่อดึงดูดความน่าสนใจและส่งเสริมให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจต่อไปในอนาคต ภาพกิจกรรมภายในงานพิธีมอบเงินรางวัลและใบประกาศนียบัตร
ขอเชิญเข้าร่วมการอบรม “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์” (สำหรับนักวิจัย) รุ่นที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2568
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ขอเชิญชวนคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต/นักศึกษา เข้าร่วมอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์” (สำหรับนักวิจัย) รุ่นที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2568 ในวันที่ 29 เมษายน 2568 ณ โรงแรมบลูแรบบิท จังหวัดจันทบุรี และโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์” (สำหรับกรรมการ) ในวันที่ 30 เมษายน 2568 ณ โรงแรมบลูแรบบิท จังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำวิจัยที่ดีและเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทดลองและนักวิจัยเอง เนื่องจากเป็นการดำเนินการวิจัยที่อยู่บนพื้นฐานของการเคารพในตัวบุคคล ศักดิ์ศรีและความปลอดภัย ตลอดจนความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ร่วมวิจัยหรือกลุ่มตัวอย่างวิจัย การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในทุกสาขาทั้งมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จะต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัยสากล มีการคุ้มครองสิทธิ์ ศักดิ์ศรี ความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัย เพื่อจะได้ผลการวิจัยที่น่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ผู้สนใจ สามารถดูรายละเอียดการรับสมัคร พร้อมอัตราค่าลงทะเบียนการอบรมดังสิ่งที่ส่งมาด้วย และสามารถสมัครเข้ารับการอบรมได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 18 เมษายน 2568 ได้ที่ https://shorturl.at/TpfWC
ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 และนานาชาติ ครั้งที่ 3
มหาวิทยาลัยแม่โจ-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 และนานาชาติ ครั้งที่ 3 (The 5th National and The 3rd International MJU-Phrae Conference) ภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การเป็นสังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน” (Innovation and Technology towards Sustainable well-being society) เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการ ให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา นักเรียน และผู้สนใจทั่วไป ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านการวิจัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย ระหว่างนักวิจัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีการนำเสนอทั้งภาคบรรยาย และภาคโปสเตอร์ ในวันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม 2568 ณ โรงแรมแพร่นครา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ผู้สนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ http://conference.phrae.mju.ac.th/theevent?WID=48#Section5
ขอเชิญส่งบทความวิจัย เพื่อนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 15
มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น ร่วมกับ 3 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีและวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์และสมาคมพัฒนาวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ได้กำหนดจัดงานประชุมวิชาการรดับชาติเรื่อง คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 15 ในวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2568 เวลา 8.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมฟองจันทร์ อาคาร President ชั้น 4 มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น จ.อุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวเทีแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการจากสถาบันต่างๆ อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการที่มีคุณค่าต่อไปในอนาคต ผู้สนใจสามารถส่งบทความ ภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2568 ได้ทาง google form https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSenNGB9apTqiI1JSaF3q3x6DpQIRsniiRDLxCwdc0Xif53fEg/viewformดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://drive.google.com/drive/folders/1IgWIbqDBi2VI0mN25LSFvNKfMxpgYfLm
ขอเชิญส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2568
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ขอเชิญชวนส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2568 ในหัวข้อ “เศรษฐกิจดิจิทัล: อนาคต โอกาส และทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ” (Digital Economy: Future, Opportunities and Directions Driving Thailand’s Economy)” (ค่าลงทะเบียน 3,500 บาท/บทความ) ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน 2568 ณ Centara Grand and Bangkok Convention Centre at CentralWorld, Bangkok โดยมีกำหนดส่งผลงานภายในวันที่ 9 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถส่งผลงานและสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ms.su.ac.th/mssuconf/home
ขอเชิญชวนเข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องเซลล์แสงอาทิตย์ ครั้งที่ 36 (PVSEC-36)
เนื่องด้วย มหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์และแสงอาทิตย์ไทย (TPVA) จะร่วมกันจัดประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง เซลล์แสงอาทิตย์ ครั้งที่ 36 เฉลิมพรเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชมมายุ 70 พรรษา 2 เมษายน 2568 (The 36th International Photovoltaic Science and Engineering Conference: PVSEC-36) ระหว่างวันที่ 16-21 พฤศจิกายน 2568 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะมีนักวิชาการ นักวิจัย ชั้นนำจากทั่วโลกประมาณ 500 กว่าคน กว่า 40 ประเทศ มาร่วมประชุมนำเสนอความรู้เทคโนโลยี ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยและพัฒนา ตลอดทั้งแผนและนโยบายด้าน เซลล์แสงอาทิตยื การเข้าสู่ Carbon Neutrality ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Website: https://www.pvsec-36.com/ […]
เชิญชวนเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยเพื่อสร้างทุนสังคม”
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอประชาสัมพันธ์เชิญชวน คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยเพื่อสร้างทุนสังคม” จัดโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 8 หลักสูตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของนักวิจัย นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ผู้เข้ารับการอบรมจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีวิทยาการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล และการพัฒนาโครงการวิจัย ผู้สนใจ สามารถลงทะเบียนผ่าน OR Code ในเอกสารด้านท้าย ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 504 7585,02 5047594