ข้อมูลทั่วไปของสำนักส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย

ที่ตั้ง  อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 19) มหาวิทยาลัยสยาม  
ชั้น 10  ห้อง 19-1011
38  ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร  10160
หมายเลขโทรศัพท์ 0-2768-8027 ต่อ 5326 
หมายเลขโทรสาร 0-2768-8027 ต่อ 5326

ความเป็นมา

              มหาวิทยาลัยสยามมีนโยบายสนับสนุนการวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง เพราะตระหนักดีว่าการวิจัยเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความสำคัญเทียบเท่าการผลิตบัณฑิต การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้มหาวิทยาลัยสยามได้เล็งเห็นว่าการวิจัยจะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายทั้งในด้านวิชาการ เศรษฐกิจ ชุมชนและสังคม เพื่อให้การดำเนินการด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างมีระบบ จึงได้จัดตั้งสำนักส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยขึ้นสำหรับเป็นหน่วยงานกลางในการส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานและบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ผ่านระบบและกลไกที่สอดคล้องกับนโยบายการวิจัยของมหาวิทยาลัย ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา  ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานวิจัยสู่สากล

ปณิธาน  เป็นศูนย์กลางด้านการส่งเสริม  พัฒนางานวิจัย และระบบการบริหารงานวิจัยที่มีคุณภาพ  เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

วิสัยทัศน์  ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพงานวิจัย พร้อมถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีสู่สังคม

พันธกิจ

1.  ส่งเสริมและพัฒนาด้านการวิจัยให้กับคณาจารย์ และสร้างความรู้ด้วย กระบวนการวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอน
2.  มุ่งเน้นส่งเสริมการวิจัยที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่/นวัตกรรม ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในด้านวิชาการ/ธุรกิจ/สังคม
3.  พัฒนามาตรฐานการวิจัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4.  ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในวงการวิจัย
5.  เป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการวิจัย โดยมีระบบสารสนเทศที่ทันสมัย

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิชาการ เศรษฐกิจ ชุมชน และสังคม
2.  เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการทำวิจัยร่วมกันระหว่างคณะวิชา หน่วยงานภายใน และองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน
3.  เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของคณาจารย์ในการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ

ขอบเขตภาระงาน

1.  สร้างระบบและกลไกในการสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนางานวิจัย รวมทั้งการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย

2.  บริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย  ให้เป็นไปตามระเบียบ  ข้อบังคับ  และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

3.  ส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ผลิตผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับนโยบายการวิจัยของมหาวิทยาลัย และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ

4.  สร้างบรรยากาศการวิจัยให้คณาจารย์มีการทำวิจัยร่วมกันระหว่างคณะวิชา หน่วยงานภายใน และองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน

5.  พัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยแก่คณาจารย์เพื่อการผลิตผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดการฝึกอบรม การจัดสัมมนา การจัดให้มีนักวิจัยพี่เลี้ยง เป็นต้น

6.  ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวิจัย เช่น การเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อการขอรับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย กระบวนการวิจัย การใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

7.  จัดหาแหล่งทุนเพื่อการวิจัยจากหน่วยงานภายนอก

8.  ส่งเสริม สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ในระดับชาติและนานาชาติ

9.  ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย

10. จัดทำฐานข้อมูลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย

11. รวบรวมข้อมูลและจัดทำรายงานเกี่ยวกับจำนวนเงินสนับสนุนการทำวิจัยและงานสร้างสรรค์ทั้งจากกองทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยและแหล่งทุนภายนอก ซึ่งจำแนกตามแหล่งทุน ดังนี้
     ⇒ แหล่งทุนในประเทศ  เช่น สวทช.  สกว.  สกอ.  วช. เป็นต้น
     ⇒ แหล่งทุนต่างประเทศ
     ⇒ หน่วยงานภาคอุตสาหกรรม  กระทรวง  จังหวัด  และอื่นๆ ที่ไม่ใช่แหล่งทุนวิจัย
     ⇒ หน่วยงานภาคเอกชน
     ⇒ แหล่งทุนอื่นๆ

12.  ดูแลการดำเนินการของศูนย์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

13.  ดำเนินงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากมติที่ประชุมคณะกรรมการวิจัย